หลวงพ่อสัมฤทธิ์คู่เมือง รุ่งเรืองประมงพื้นบ้าน ตำนานแม่นกเอี้ยงเจ้าตากสิน ผืนดินติดทะเลโคลนอ่าวไทย


ช่างหมัน (ช่างไม้ ซ่อมเรือ)

ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

ช่างหมัน (ช่างไม้ ซ่อมเรือ)

*******************

ประวัติส่วนตัว

          นางสุนัย    สมพามา 

ประวัติชีวิต

พื้นเพเดิมครอบครัวของนางสุนัย  สมพามา เป็นลูกของนายแกะ  สมพามา  กับนางมา  สมพามา ทั้งสองคนมีอาชีพรับเหมาเป็นช่างต่อเรือ หรือเรียกว่า “ช่างไม้” ส่วนมารดามีอาชีพรับเหมาเป็นช่างตอกเรือ หรือเรียกว่า “ช่างหมัน” มีลูก 4 คน ชาย 1 คน หญิง 3 คน ลูกชายมีอาชีพเป็นช่างฟิตเครื่องเรือ ลูกสาวมีอาชีพเป็นช่างตอกเรือทั้ง 3 คน ลูกทั้ง 4 คนจบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.4) อ่านออกเขียนได้  เมื่อเรียนจบออกมาช่วยงานทางบ้าน โดยมารดาเป็นหัวหน้ารับเหมา ทุกครั้งมารดาจะพาลูกๆ ไปหัดทำงานที่คานเรือ ทำงานแรกๆ ไม่ได้เงิน เพราะยังไม่เก่ง ทำงานกับครอบครัวรายได้ที่ได้มามอบให้มารดาเพื่อมาใช้ซื้อของมาอุปโภค บริโภคภายในบ้าน

นางสุนัย  สมพามา เริ่มหัดทำงานครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 12 ปี  ทำงานช่วงแรกๆ มารดาให้ค่าแรงวันละ    5 บาท เป็นค่าขนมและจะได้มีรายได้เป็นของตัวเอง เมื่อมีความชำนายมากขึ้นจึงไปรับจ้างทำกับคนอื่นได้ จนได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 10 บาทบ้าง 18 บาทบ้าง หลังจากนั้นได้ย้ายไปทำงานที่จังหวัดตรัง ได้ค่าแรงประมาณวันละ 40 บาท ต่อมาย้ายกลับมาที่เพชรบุรี ค่าแรงยังคงเท่าเดิม (วันละ 40 บาท)  แต่งงานเมื่อตอนอายุ 20 ปี กับนายไพโรจน์  สมพามา ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างตอกเรือเหมือนกัน ขณะนี้ได้ค่าแรงวันละ 400 บาท

ปัจจุบันอาชีพนี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนรุ่นใหม่ ไม่มีคนสืบทอด  และอาชีพนี้ก็จะค่อยๆ หายไป เราควรสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ ให้คนรุ่นหลังได้รู้  ได้เห็น วิธีการทำอาชีพนี้ไว้เพื่อนำไปเผยแพร่ และยังยึดถือเอาไว้เป็นอาชีพของตนเองได้ เพราะเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีพอสมควร

สถานที่ตั้ง/สถานที่จัดจำหน่าย/ราคาจำหน่าย

          1. คานเรือนิยมค้า

          2. คานเรือตาหน่าย

          3. คานเรือตาอ๊อด

          4. คานเรือตาหาร

วัสดุอุปกรณ์หรือวัตถุดิบ

อุปกรณ์

          1. ขวาน          2. สิ่ว             3. ไม้ขูด          4. ไม้ปิด 5. ขันปิดชัน

วัตถุดิบ

          1. ปูนแดง        2. ชันน้ำมัน      3. ชันผง          4. ได้ดิบหรือไหมฟ้า      

          5. กาวยาแนว    6. สี              7. น้ำยาผสมสี   8. ทินเนอร์

วิธีการทำ

          1. ล้างเรือที่นำขึ้นคานเรียบร้อยแล้ว เพื่อเอาตะไคร่ออก

          2. ขูดเพรียงที่เกาะใต้ท้องเรือออก

          3. ขัดสีเก่าที่ตัวเรือออก

          4. ช่างหมันงัดแนวเรือที่เสียหายออก

          5. ใส่ด้ายดิบหรือไหมฟ้าอุดไปที่แนวเรือที่งัดออก โดยใช้ขวานกับสิ่วตอกแนวที่ใส่ด้ายกับไหมฟ้าให้แน่น

         

-2-

6. ปิดแนวเรือที่ตอกไปแล้ว โดยนำขันกับไม้ปิดมาตักปูนแดง  น้ำมันยาง  และชันผงมาผสมให้เข้ากัน คนไปเรื่อยๆ จนเหนียว  (ถ้าเป็นกาวยาแนวเรือก็นำมาผสมกันแล้วคนให้เข้ากัน ใช้ได้เหมือนกัน แต่สีของชันกับกาวรุ่นใหม่จะไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นชันแบบเก่าจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนแบบใหม่จะเป็นสีขาว แต่วิธีการปิดแนวเรือทำเหมือนกัน)

          7. นำที่ผสมแล้วมาปิดตามแนวของเรือ เมื่อปิดชันหรือกาวแล้ว รอให้แห้ง

          8. ก่อนจะทาสี ต้องนำสีมาผสมกับน้ำยาผสมสี คนให้เข้ากัน

          9. ทาสีเรือแล้วปล่อยให้แห้ง