หลวงพ่อสัมฤทธิ์คู่เมือง รุ่งเรืองประมงพื้นบ้าน ตำนานแม่นกเอี้ยงเจ้าตากสิน ผืนดินติดทะเลโคลนอ่าวไทย


ข้อมูลเทศบาล

ประวัติความเป็นมา

     สำหรับชื่อของสุขาภิบาลบ้านแหลม เป็นชื่อเดียวกับตำบลบ้านแหลมสันนิฐานว่าแต่เดิมตำบลบ้านแหลมเป็นตำบลที่มีลักษณะคล้าย "แหลม" ที่ยื่นเข้าไปในท้องที่ตำบลบางใหญ่จึงได้ขนานนามว่า "บ้านแหลม"  มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติบ้านแหลม ประวัติอำเภอบ้านแหลม

 
ประวัติการก่อตั้งอำเภอบ้านแหลม
           ชื่อของ บ้านแหลม เป็นชื่อเรียกตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากตะกอนดินที่สะสมจากเปลือกหอยนานาชนิดทับถมกัน จนกลายเป็นแหลมยื่นออกไป  บ้างก็ว่าเป็นลักษณะบ้านที่มียอดแหลม แบบทรงไทยอยู่มาก แต่เดิมนั้นท้องที่อำเภอบ้านแหลม มีฐานะในทางปกครองเป็นส่วนหนึ่งของแขวง ๒แขวง คือ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรีจะขึ้นอยู่กับ แขวงขุนชำนาญ ส่วนทางฝั่งตะวันตกขึ้นอยู่กับ แขวงหลวงพรหมสาร เรียกชื่อตามทินนามของผู้เป็นนายแขวงปกครองอยู่ขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอขึ้น  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓  
           ใน รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยุบรวมกับอำเภอเมืองเพชรบุรี เมื่อ ร.ศ.๑๒๐ พ.ศ. ๒๔๔๔ และต่อมากรมการอำเภอเมือง ได้แจ้งมณฑลเทศาภิบาลราชบุรี ว่าท้องที่อำเภอเมืองเมืองเพชรบุรีนั้น มีพื้นที่กว้างขวาง มีพลเมืองถึง ๖๐,๐๐๐ เศษ เหลือกำลังเกินที่กรมการอำเภอเมืองจะสามารถตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยให้ ทั่วถึงได้ จึงได้ขอแยกอำเภอใหม่ ซึ่งพระยาอมรินทร์ฤๅไชย ข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลราชบุรี ได้มีใบบอกไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำความกราบ บังคบทูล ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอำเภอใหม่ว่า "อำเภอบ้านแหลม"  เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ (ร.ศ.๑๒๓)
          สมัยอดีตนั้น อำเภอบ้านแหลมเป็นเสมือนเมืองท่าของเมืองเพชรบุรีที่ใช้เป็น ที่ติดต่อค้าขายกับหัวเมืองอื่น ดังนั้นเมืองเพชรบุรี จึงเป็นเมืองท่าที่มีความรุ่งเรืองมาแต่ในอดีต จากการติดต่อซื้อขายกับต่างประเทศ โดยมีสินค้าหลักที่สำคัญก็น้ำตาลโตนดและเกลือสมุทร
แต่ความเป็นเมืองท่าเรือเล็กๆของสยามประเทศได้สิ้นสุดลง เมื่อได้มีสนธิสัญญาเบอร์นี่ ที่ได้บังคับให้สยามมีการติดต่อค้าขายผ่านทางท่าเรือคลองเตยในกรุงเทพฯเพียงแห่งเดียว ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ได้มีผลบังคับแทนสนธิสัญญาเบอร์นีและได้ยกเลิกในรัชกาลต่อมา แต่รัฐบาลได้หันไปพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบังแทน  หาได้มีการพัฒนาท่าเรือตามเมืองอย่างที่เคยมีมาแต่เดิม  ประชาชนที่อยู่ในอำเภอบ้านแหลมในอดีตซึ่งมักจะมีฐานะค้าขาย ภายหลังจึงได้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าไปทำมาหากินในกรุงเทพฯ

 
















ประวัติความเป็นมาของดวงตราประทับประจำเทศบาลตำบลบ้านแหลม

     เดิมตำบลบ้านแหลม มีฐานะเป็นสุขาภิบาล ตั้งอยู่ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลจนถึงปัจจุบัน โดยประสงค์ปรับปรุงให้มีความชัดเจน สวยงาม ถูกต้องและสมบูรณ์


     1.บริเวณภายในวงกลม

       เรือเป็นสัญลักษณ์ดั้งเดิมของอำเภอบ้านแหลม ประกอบกับพื้นที่ของตำบลบ้านแหลมเป็นพื้นที่ติดกับชายทะเล ซึ่งประกอบอาชีพประมง โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านมีรายได้จากการทำประมง ตลอดจนสามารถทำรายได้เข้าจังหวัดเพชรบุรีเป็นอย่างมาก

     2.แม่น้ำ

       แม่น้ำที่ปรากฏอยู่บริเวณวงกลมด้านในบ่งบอกว่า อำเภอบ้านแหลมมีพื้นที่ที่ติดกับแม่น้ำเพชรบุรีและติดชายทะเลอ่าวไทย

     3.ลายกนก

       ลายกนกที่อยู่บริเวณวงกลมด้านนอกของทั้งสองข้าง เป็นจุดเด่นเน้นความสำคัญของสัญลักษณ์ให้ดูเด่นและงามตายิ่งขึ้น



















วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลตำบลบ้านแหลม  "เป็นเมืองที่ประชาชนอยู่ดีมีสุข  อย่างยั่งยืน"

     เทศบาลตำบลบ้านแหลม  เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เอื้ออำนวยและประสาน   เชื่อมโยงที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาท้องถิ่น  เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ได้รับบริการสวัสดิการและการคุ้มครองอย่างทั่วถึงเป็นธรรมและเสมอภาค  ทั้งสามารถพัฒนาตนเองเพิ่มศักยภาพช่วยเหลือครอบครัวให้เข้มแข็งและชุมชนเป็นเมืองน่าอยู่ยิ่งขึ้น

วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร

     ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาล  ส่งเสริมด้านการศึกษา พัฒนาด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมให้สะดวกขึ้น ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  พัฒนาด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน  ด้านคมนาคมให้สะดวก ขึ้น ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม จัดการด้านขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สร้างจิตสำนึกต่อประชาชนให้ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดูแลด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต  ส่งเสริมช่วยเหลือผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์รณรงค์เยาวชนต่อต้านยาเสพติด ด้านเศรษฐกิจ  ส่งเสริมอาชีพของประชาชนในท้องถิ่น มีการต่อยอดสินค้าที่ประชาชนดำเนินการในรูปแบบของหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ พัฒนาด้านการท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรม  สนับสนุนงบประมาณในการจัดงานประเพณีศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาของท้องถิ่น จัดอบรมให้ความรู้ด้านประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นแก่เยาวชน

 

     เทศบาลตำบลบ้านแหลมวิเคราะห์แล้วพิจารณาเห็นว่าภารกิจหลัก และภารกิจรองที่ต้องดำเนินการ ได้แก่

ภารกิจหลัก

    - พัฒนาบุคลากร เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคง ความสะดวก ปลอดภัยและแก้ไขปัญหาสังคมความยากจนและความเดือนร้อนของประชาชน

    - เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเชิงบูรณาการ

    - พัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง ชายฝั่ง และแม่น้ำ

    - วางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เหมาะสม

    - พัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรม

    - พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การศึกษา ศาสนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น สุขภาพ กีฬาและนันทนาการ

    - ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ

    - ปรับปรุงและขยายโครงข่ายสาธารณูปโภค-สาธารณูปการให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

ภารกิจรอง

    - การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ เทศกาลงานเข้าพรรษา ประเพณีสงกรานต์และประเพณีลอยกระทง การจัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ เป็นต้น

    - ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    - ส่งเสริมการผลิตผลผลิตทางการเกษตร ประมงและอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ

    - สร้างความมั่นใจ สะดวก ปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว

    - พัฒนาระบบสารสนเทศบริการประชาชน

    - ส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนให้มีความกินดีอยู่ดี

    - ส่งเสริมสวัสดิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ด้อยโอกาส

    - ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 ชุมชนวัดอุตมิงค์พัฒนา 439 617 701 1,318 คน
หมู่ที่ 2 ชุมชนวัดต้นสนพัฒนา 518 658 652 1,310 คน
หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านกลางสามัคคี 420 718 732 1,450 คน
หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านในพัฒนา 675 710 780 1,490 คน
หมู่ที่ 5 ชุมชนศาลเจ้ากวงกงพัฒนา 327 525 548 1,073 คน
หมู่ที่ 6 ชุมชนย่านซื่อพัฒนา 512 578 638 1,216 คน
หมู่ที่ 7 ชุมชนวัดลักษณารามสามัคคี 553 659 764 1,423 คน
หมู่ที่ 8 ชุมชนประมงเจริญพัฒนา 450 656 717 1,373 คน
หมู่ที่ 10 ชุมชนศาลเจ้าฮุดโจ้วร่วมใจพัฒนา 316 500 521 1,021 คน
ข้อมูลรวม : คน


























สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพทั่วไป

     ที่ตั้ง

     เทศบาลตำบลบ้านแหลมตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแหลม  จังหวัดเพชรบุรี  ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร  โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงของประเทศเป็นระยะทางประมาณ  ๑๔๐  กิโลเมตร  ตามเส้นทางหลวงหมายเลข  ๔.  ถนนเพชรเกษม  และตามเส้นทางถนนพระราม ๒  เข้าสู่ ตำบลยี่สาร - บางตะบูน  ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร

     สภาพพื้นที่

     เทศบาลตำบลบ้านแหลมมีพื้นที่  ๕.๒๓  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  ๓,๒๖๘  ไร่  มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบชายฝั่งทะเล   มีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่านชุมชนจากทางตะวันตกไปตะวันออกสู่ทะเล   ที่ปากอ่าวบ้านแหลม

     อาณาเขต

     เทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง  ดังนี้

     ทิศเหนือ           ติดต่อกับ         อบต.บ้านแหลม 

     ทิศใต้               ติดต่อกับ         อบต.บ้านแหลม  และ อบต.บางครก

     ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         อบต.บ้านแหลม จดทะเลอ่าวไทย  

     ทิศตะวันตก       ติดต่อกับ         อบต.บ้านแหลม และ อบต.บางครก

     เขตการปกครอง

     เทศบาลตำบลบ้านแหลม มีพื้นที่เขตปกครองทั้งหมด  ๙  ชุมชน  ได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล  เมื่อวันที่  ๒๕  พฤษภาคม  ๒๕๔๒ 

ลักษณะภูมิประเทศ

     เทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบชายฝั่งทะเล  พื้นดินมีลักษณะเป็นดินเลนและป่าชายเลน  พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดทะเลอ่าวไทย

ลักษณะภูมิอากาศ

     เทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีลักษณะภูมิอากาศแบบลมมรสุม  ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับทะเลอ่าวไทยทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่น สบาย  ไม่ร้อนจัด  ไม่หนาวจัด  มีความชื้นเล็กน้อย  โดยแบ่งเป็น  ๓  ฤดู  เช่นเดียวกับสภาพอากาศทั่วไปของประเทศไทย











การเมืองการปกครอง

                           เทศบาลตำบลบ้านแหลม ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล เพราะพระราชบัญญัติการจัดตั้งของสุขาภิบาลไปขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงได้ประกาศยกเลิกสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ตามพระราชกฤษฏีกา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒
                           เดิมสุขาภิบาลบ้านแหลม ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๙๘ ก่อนที่ท่านจะจัดตั้งสุขาภิบาล เป็นชุมชนที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งที่เรือโดยสารจะขนส่งสินค้า สายสุพรรณ - อยุธยา - กรุงเทพ และสาย สุพรรณบุรี - สองพี่น้อง - นครปฐม ต้องจอดพักเป็นประจำทำให้ชุมชนแห่งนี้เป็นศูนย์รวมของสินค้าเครื่องอุปโภคและบริโภคนานาชนิด
                            สำหรับชื่อของสุขาภิบาลบ้านแหลม เป็นชื่อเดียวกับตำบลบ้านแหลมสันนิฐานว่าแต่เดิมตำบลบ้านแหลมเป็นตำบลที่มีลักษณะคล้าย "แหลม" ที่ยื่นเข้าไปในท้องที่ตำบลบางใหญ่จึงได้ขนานนามว่า "บ้านแหลม"  มาจนถึงปัจจุบัน

                            เทศบาลตำบลบ้านแหลม อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่เขตการปกครองประกอบด้วย 1 ตำบล 9 หมู่บ้านคือตำบลบ้านแหลม หมู่ที่ 1-8 และหมู่ที่ 10 (หมู่ที่ 9 เป็นเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม)

                            เทศบาลตำบลบ้านแหลมได้มีการจัดตั้งชุมชนย่อยในเขตเทศบาล ตามนโยบายของกรมการปกครอง(เดิม)  ที่กำหนดให้เทศบาลส่งเสริมให้ประชาชนในเขตเทศบาล  ได้มีการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันคิด  ร่วมกันทำ  ร่วมกันแก้ไขปัญหาในรูปแบบของชุมชนย่อย  ซึ่งอาจแบ่งชุมชนตามสภาพพื้นที่ของหมู่บ้าน  โดยจัดให้มีแกนนำชุมชนในรูปของคณะกรรมการชุมชน  คัดเลือกจากประชาชนในชุมชนประกอบด้วยประธานชุมชน  รองประธาน  เลขานุการและกรรมการชุมชนฝ่ายต่าง ๆ  ซึ่งคณะกรรมการชุมชนนอกจากจะมีบทบาทเป็นผู้นำและแกนกลางในการพัฒนาชุมชนแล้วยังต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในชุมชน  รวมถึงเสนอแผนงานโครงการ  ในกรณีที่การแก้ไขปัญหานั้นต้องการการช่วยเหลือสนับสนุนจากเทศบาล การแบ่งชุมชนย่อยในเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลมได้แบ่งตามหมู่บ้านโดยแบ่งเป็น  9 ชุมชน  ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาลทั้งหมดประกอบด้วย

1.       ชุมชนวัดอุตมิงค์พัฒนา     (หมู่ที่ 1)

2.       ชุมชนวัดต้นสนพัฒนา      (หมู่ที่ 2)

3.       ชุมชนบ้านกลางสามัคคี    (หมู่ที่ 3)

4.       ชุมชนบ้านในพัฒนา           (หมู่ที่ 4)

5.       ชุมชนศาลเจ้ากวงกงพัฒนา    (หมู่ที่ 5)

6.       ชุมชนย่านซื่อพัฒนา                (หมู่ที่ 6)

7.       ชุมชนวัดลักษณารามสามัคคี    (หมู่ที่ 7)

8.       ชุมชนประมงเจริญพัฒนา          (หมู่ที่ 8)

                                     9.      ชุมชนศาลเจ้าฮุดโจ๊วร่วมใจพัฒนา   (หมู่ที่ 10) 

                                          เทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีฐานะเป็นเทศบาลตำบล มีนายกเทศมนตรีได้ 1 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง และใช้พื้นที่เขตเทศบาลทั้งหมดเป็นเขตเลือกตั้ง 1 เขตและมีสมาชิกสภาเทศบาลได้ 12 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง  มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง โดยแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขต มีสมาชิกสภาเทศบาลได้เขตละ 6 คน         

           




































สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

ลักษณะการประกอบอาชีพ

     พื้นที่เทศบาลตำบลบ้านแหลม อยู่ติดกับทะเลอ่าวไทยทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการทำประมง  รับจ้าง  อุตสาหกรรมในครัวเรือน  ข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจและพนักงานในองค์กรเอกชน

ลักษณะชุมชนในท้องถิ่น

     ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม  เป็นชุมชนที่ตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการปกครอง  (เดิม)  ที่กำหนดให้เทศบาลฯ  ส่งเสริมให้ประชาชนในเขตเทศบาลฯ  ซึ่งแบ่งเป็นชุมชนได้มีการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันคิด  ร่วมกันทำ  ร่วมกันแก้ไขปัญหาของกลุ่มในรูปแบบของชุมชนย่อย  ซึ่งอาจแบ่งตามสภาพพื้นที่หรือการรวมกลุ่มตามสังคม  โดยจัดให้มีแกนนำชุมชนในรูปของคณะกรรมการชุมชน  โดยคัดเลือกจากประชาชนในชุมชนประกอบด้วยประธานชุมชน  รองประธาน  เลขาและกรรมการชุมชนฝ่ายต่าง ๆ  ซึ่งคณะกรรมการชุมชนนอกจากจะมีบทบาทเป็นผู้นำและแกนกลางในการพัฒนาชุมชนแล้ว  ยังมี บทบาทในการที่จะเป็นแกนนำใน การร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในชุมชน  รวมถึงเสนอแผนงานโครงการ  ในกรณีที่    การแก้ไขปัญหานั้นต้องการการช่วยเหลือสนับสนุนจากเทศบาลฯ

สภาพทางเศรษฐกิจ

     ๑.  โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร  โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สำคัญในพื้นที่เขต   เทศบาลตำบลบ้านแหลม  ได้แก่

     ๑.๑  การพาณิชย์และการบริการ  จากสภาพพื้นที่ของเขตชุมชนเป็นศูนย์กลางการค้าขายและบริการ  การธนาคาร  การศึกษา  การรักษาพยาบาล  การสื่อสารโทรคมนาคม  ประกอบกับข้อจำกัด ด้านจำนวนพื้นที่  ทำให้การลงทุนในภาคธุรกิจจะเป็นลักษณะของการลงทุนทำธุรกิจในระบบครอบครัวประกอบการกับพื้นที่ของเทศบาลติดกับทะเล  จึงทำให้มีสินค้าพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อ  คือ  อาหารทะเลตากแห้งเป็นของฝากแก่ญาติมิตร  เพื่อนฝูง

      สถานประกอบการด้านการพาณิชย์

     - สถานีบริการน้ำมัน  ๓  แห่ง 

       ๑.  สถานีบริการน้ำมันถนนเพชรบุรี-บ้านแหลมฝั่งตะวันออก (๒ แห่ง )

       ๒.  สถานีบริการน้ำมันถนนเพชรบุรี-บ้านแหลมฝั่งตะวันตก ( ๑ แห่ง )

     - ตลาดเอกชน  ๖  แห่ง

       ๑.  ตลาดนัดวัดลักษณาราม

       ๒.  ตลาดนัดวัดในกลาง

       ๓.  ตลาดนัดวัดต้นสน

       ๔.  ตลาดกิ่งแก้ว

       ๕.  ตลาดน้ำเพชร  (ตลาดใหม่)

     สถานประกอบการด้านบริการ

     - ธนาคาร  จำนวน  ๔  แห่ง

       ๑.  ธนาคารกสิกรไทย  จำกัด

       ๒.  ธนาคารออมสิน

       ๓.  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

       ๔.  ธนาคารไทยพาณิชย์

     - สำนักงานประกันชีวิต ๑  แห่ง

     - ศูนย์จำหน่ายรถยนต์  ๑  แห่ง

     - คลินิกแพทย์แผนปัจจุบัน  ๔  แห่ง

     - บริษัทเดินรถ  ๑  แห่ง

     -  ศูนย์ล้างอัดฉีด  ๔  แห่ง

     -  ศูนย์จำหน่ายรถจักรยานยนต์  ๓  แห่ง

     -  คลินิกแพทย์แผนไทย  ๑  แห่ง

     ๑.๒ การเกษตรกรรม  ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำประมง  เช่น  การเลี้ยงกุ้ง  หอย  ปู  ปลา

     ๑.๓  อุตสาหกรรม  เทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีโรงงานอุตสาหกรรมได้แก่

     -  อุตสาหกรรมขนาดกลาง  ได้แก่

       ๑.  โรงงานแล่ปลา                          ๕        โรงงาน

       ๒.  โรงงานแปรรูปอาหารทะเล           ๓        โรงงาน

       ๓.  โรงงานน้ำปลา                          ๒        โรงงาน

สภาพทางสังคม

     จำนวนประชากร  จำนวนครัวเรือน  จากหลักฐานทางทะเบียนราษฎร  ณ  เดือน  เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖  ของสำนักบริหารการทะเบียน  กรมการปกครอง พื้นที่ในระดับตำบล
บ้านแหลม  ท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ้านแหลม  ปรากฏข้อมูลจำนวนประชากร  จำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบล   บ้านแหลม  ดังนี้

     -  จำนวนประชากรรวม   ๑๒,๕๗๐  คน  แบ่งเป็น

         -  ชาย   ๖,๐๙๗   คน 

         -  หญิง  ๖,๔๗๓   คน

     -  จำนวนครัวเรือน  ๓,๙๙๓  ครัวเรือน  

สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

     การศึกษา  เทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม ดังนี้

     ๔.๑  มีการถ่ายโอนภารกิจด้านการศึกษาให้แก่ อปท. มี ๑ แห่ง

        ๑)  โรงเรียนวัดลักษณาราม

     ๔.๒  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  สังกัดเทศบาลตำบลบ้านแหลม รับโอนงบประมาณจากกรมการศาสนา    มี  ๒  แห่ง

         ๑)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดลักษณาราม

         ๒)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดต้นสน

     ๔.๓  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลบ้านแหลม รับโอนเด็ก ๓ ขวบ จาก สปช. เดิม         มี  ๓  แห่ง 

        ๑)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านแหลม

        ๒)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดในกลาง

        ๓)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดอุตมิงค์

     ๔.๔  โรงเรียนระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ)   มี  ๕  แห่ง

        ๑)  โรงเรียนวัดลักษณาราม

        ๒)  โรงเรียนวัดต้นสน

        ๓)  โรงเรียนบ้านแหลม

        ๔)  โรงเรียนวัดในกลาง

        ๕)  โรงเรียนวัดอุตมิงค์

     ๔.๕  โรงเรียน ระดับประถมศึกษา (ป.๑ – ป.๖) สัดกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ)   มี  ๕  แห่ง

        ๑)  โรงเรียนวัดลักษณาราม

        ๒)  โรงเรียนวัดต้นสน

        ๓)  โรงเรียนบ้านแหลม

        ๔)  โรงเรียนวัดในกลาง

        ๕)  โรงเรียนวัดอุตมิงค์

     ๔.๖  โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ - ม.๓) สัดกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ)   มี  ๑  แห่ง

        ๑)  โรงเรียนวัดต้นสน

     ศาสนา  ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม  นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่  โดยมีวัดในพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบล  จำนวน  ๕  วัด  ได้แก่

๑.  วัดต้นสน                                  ๒.  วัดในกลาง

๓.  วัดลักษณาราม                          ๔.  วัดศีรษะคาม

๕.  วัดอุตมิงค์

     วัฒนธรรมประเพณี 

๑.  งานประเพณีสงกรานต์  เป็นงานที่เทศบาลฯ  จัดประจำเดือนเมษายนของทุกปี  ลักษณะการจัดงาน  มีการจัดขบวนแห่สงกรานต์เข้าเมืองเพชรบุรี  มีการละเล่นพื้นบ้าน

๒.  งานเทศกาลกินเจ  เป็นงานที่เทศบาลฯ  จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายนของทุกปี  ลักษณะการจัดงานมีขบวนแห่เทพเจ้าจีนทางแม่น้ำเพชรบุรี  ประชาชนที่มีเชื้อสายจีนจะถือศีลกินเจ  ประมาณ  ๑๐  วัน

                              

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

     การคมนาคม/ขนส่ง  เทศบาลตำบลบ้านแหลมตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม   จังหวัดเพชรบุรี  ถนนสายหลัก ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินสายเพชรบุรี-บ้านแหลมฝั่งตะวันออก  เป็นเส้นทางที่ใช้ติดต่อกับจังหวัดเพชรบุรีระยะทาง  ๑๒  กิโลเมตร

     -  ทางหลวงแผ่นดินสายเพชรบุรี-บ้านแหลมฝั่งตะวันตก  เป็นเส้นทางที่ใช้ติดต่อกับจังหวัดเพชรบุรี  ระยะทาง  ๑๕  กิโลเมตร

     ก.  ทางบก

         -  จากกรุงเทพมหานคร  โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  ๔. (ถนนเพชรเกษม)  ระยะทางประมาณ  ๑๖๖  กิโลเมตร  (ผ่านจังหวัดนครปฐมและจังหวัดราชบุรี)

         -  จากกรุงเทพมหานคร โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕. (ถนนธนบุรี-    ปากท่อ) ระยะทางประมาณ  ๑๒๐  กิโลเมตร  (ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร  สมุทรสงครามและอำเภอปากท่อ  จังหวัดราชบุรี)

         - จากกรุงเทพมหานคร โดยทางถนนพระราม  ๒  เข้าตามเส้นทาง ตำบลยี่สาร – บางตะบูน ระยะทางประมาณ  ๑๙ กิโลเมตร

     ข.  ทางอากาศ

          ในจังหวัดเพชรบุรี  ไม่มีที่ตั้งของสนามบินพาณิชย์  กรณีเดินทางโดยเครื่องบินโดยสาร  (ขนาดเล็ก)  ต้องไปขึ้น-ลงที่สนามบินบ่อฝ้าย  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งมีระยะทางห่างจากเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม  ประมาณ  ๗๕  กิโลเมตร

     ค.  ทางน้ำ

          ในเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลมมีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่าน ปัจจุบันใช้เป็นทางสัญจร เพื่อประกอบอาชีพประมงในการขนส่งทางน้ำ

     ไฟฟ้า  ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอ
บ้านแหลม  เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการไฟฟ้า  ในเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม มีจำนวนครัวเรือนที่มีการใช้ไฟฟ้า  จำนวน  ๓,๗๕๐  ครัวเรือน ถนนในเขตเทศบาลฯ มีมิเตอร์ไฟสาธารณะ จำนวน  ๑๘  เครื่อง

     การประปา  ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม  ดำเนินการโดยการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดเพชรบุรี  มีจำนวนครัวเรือนที่มีการใช้บริการน้ำประปา  จำนวน  ๓,๒๖๖  ครัวเรือน

     โทรศัพท์  ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  เป็นผู้ให้บริการด้านโทรศัพท์  ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาลฯ  ทั้งหมด  โดยมี

          ๑.   จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคล                   จำนวน  ๑,๐๐๕  เลขหมาย

          ๒.   จำนวนโทรศัพท์สาธารณะ                    จำนวน      ๔๖   เลขหมาย

     การสื่อสารและโทรคมนาคม   ในพื้นที่เขตเทศบาลฯ  มีหน่วยงานเกี่ยวข้องกับการสื่อสารและโทรคมนาคม  ได้แก่  ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน  ๑  แห่ง  และระบบเสียงตามสายครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ ๙๐  เปอร์เซ็นต์

     การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม  การใช้ที่ดินจะเป็นไปตามที่ได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวม  ชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น  บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี  ซึ่งอยู่บริเวณใจกลางเขตเทศบาลฯ  โดยการใช้ที่ดิน ประเภทพาณิชยกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย

     การสาธารณสุข  ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีโรงพยาบาลของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  จำนวน  ๑  แห่ง  ได้แก่  โรงพยาบาลบ้านแหลม 

     กีฬานันทนาการและสวนสาธารณะ

     ๑.     สนามฟุตบอล  จำนวน  ๓  แห่ง 

     ๑.๑   สนามโรงเรียนวัดในกลาง 

     ๑.๒  สนามโรงเรียนวัดลักษณาราม 

     ๑.๓  สนามโรงเรียนวัดต้นสน

     ๒.     สนามบาสเก็ตบอล  จำนวน  ๔  แห่ง

     ๒.๑  สนามโรงเรียนบ้านแหลม

     ๒.๒  สนามโรงเรียนวัดในกลาง

     ๒.๓  สนามโรงเรียนวัดต้นสน

     ๒.๔  สนามโรงเรียนวัดลักษณาราม

     ๓.     สนามตะกร้อ  จำนวน  ๔  แห่ง

     ๓.๑  สนามโรงเรียนบ้านแหลม

     ๓.๒  สนามโรงเรียนวัดในกลาง

     ๓.๓  สนามโรงเรียนวัดต้นสน

     ๓.๔  สนามโรงเรียนวัดลักษณาราม

     ๔.     สวนสุขภาพ  จำนวน  ๒  แห่ง

     ๔.๑  โรงเรียนวัดในกลาง

     ๔.๒  โรงเรียนวัดลักษณาราม

     ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

     ๑.  มีสถานีตำรวจภูธรบ้านแหลม              จำนวน            ๑        แห่ง

     ๒.  ศูนย์อาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน       จำนวน           ๑        แห่ง

     ๓.  สถานีดับเพลิง                              จำนวน            ๑        แห่ง

     ๔.  รถดับเพลิง                                  จำนวน            ๑        คัน

     ๕.  รถกระเช้าไฟฟ้า                            จำนวน            ๑        คัน

     ๖.  รถบรรทุกน้ำ                                  จำนวน           ๓        คัน

     เทศบาลตำบลบ้านแหลมได้มีการกำจัดขยะมูลฝอย  สิ่งปฏิกูล  โดยทำการจัดเก็บปริมาณขยะมูลฝอย  ประมาณ  ๑๕   ตัน/วัน  ใช้วิธีฝังกลบ และคัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ 

     นอกจากนี้  ทางเทศบาลตำบลบ้านแหลมมีโครงการจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมและเตาเผาขยะ เพื่อรองรับปัญหาขยะมูลฝอยในอนาคตต่อไป

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     เทศบาลตำบลบ้านแหลม  มีพื้นที่ด้านทิศตะวันออกจดทะเลอ่าวไทย  บางส่วนทรัพยากร   ธรรมชาติที่สำคัญจึงได้มาจากทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาและป่าชายเลน  มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ แม่น้ำเพชรบุรี  ซึ่งใช้เป็น เส้นทางสัญจรในการประกอบอาชีพประมง และใช้เป็นทางขนส่งทางน้ำ  ในเขตเทศบาลฯ  มีลำคลองธรรมชาติทั้งหมด  ๗  สาย   คือ สายคลองวัด สายคลองท่าแห สายคลองตลาด สายคลองโรงพัก สายคลองลาดสัมพุด  สายคลองวิก  และสายคลองน้ำเชี่ยว